วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565

old plane

เขียนรูปเครื่องบินไว้ดูเล่น ในชีวิตจริงขับไม่ได้ขอขับในความฝัน

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา

 เขื่อนรัชชประภา อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี ในวันแสงแดดแรงกล้า  18 สิงหาคม 2563 


วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธสิริสัตตราช แสงธรรมบนเขื่อนรัชชประภา

ดวงอาทิตย์ยามเย็นส่องผ่านหมู่เมฆเหนืออ่างเก็บ น้ำและผืนป่าของเขื่อนรัชชประภา(เขื่อนเชี่ยวหลาน) สีจากแสงกระจายบนขอบเมฆเป็นสีทองส่องทะลุเป็นลำแสงกว้าง ส่องลงมาจากฟ้าสูงกระทบองค์พระพุทธรูป "พระพุทธสิริสัตตราช" หรือ"หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์" ซึ่งประดิษฐานตรงจุดที่สูงที่สุดบนเขื่อนรัชชประภา องค์พระสีทองยิ่งเปล่งสีด้วยแสงสะท้องเปล่งปลั่งยิ่งขึ้น สีทองอร่ามงดงามมองเห็นได้จากไกล ๆ ผู้เยือนเขื่อนแห่งนี้สามารถสัมผัสความงดงามขององค์พระที่เต็มเปี่ยมด้วย ความสงบและความเมตตาขององค์พระได้เป็นอย่างดี
การได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป "พระพุทธสิริสัตตราช" หรือ"หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์" ถือได้ว่าเป็นความโชคดี เป็นบุญของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกวาระหนึ่งในรอบช่วงเวลาที่ผ่านมาเพราะการได้รับโอกาสจากพระพุทธรูปที่มี ความศักดิ์สิทธิ์เป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระคู่บุญบารมีของพระครูภาวนากิจ โกศล(หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มาประดิษฐานนั้นเป็นเรื่องที่ถือว่าเป็นโชคดีเป็นอย่างยิ่ง การสร้าง "พระพุทธสิริสัตตราช" ตามเจตนารมย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตโดยสรุปก็เพื่อความสงบสุข ร่มเย็นของแผ่นดินและสรรพสัตว์ทั้งปวง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์ พระพุทธรูปซึ่งจำลองมาจากองค์จริงมาประดิษฐานไว้ประจำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ประชาชนชาวพุทธทั้งใกล้ไกลได้มีโอกาสไปสักการะเพื่อขอพร เพื่อให้ได้รับความสุขและคุ้มครองเป็นขวัญเป็นกำลังใจให้เกิดแก่ทุก ๆ คน
เมื่อวันที่ ๑๙ ถึง ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา เขื่อนรัชชประภาโดยผู้อำนวยการเขื่อนนายพงษ์ศักดิ์ ผลพฤกษ์ และผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตลอดจนพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันจัดพิธีสมโภช พุทธาภิเษกและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ขึ้น ณ บริเวณศาลาประภาภิรมย์ เขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวมีพิธีบวช “เนกขัมม” โดยพระครูสุดธรรมวาที (หลวงพ่อมหาประสิทธิ์ สิริธรรมโม) รับฟังโอวาทธรรมจากหลวงปู่ประสาร วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร และมีกิจกรรมทางศานาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลา ๓ วัน พิธีกรรมทางศาสนาที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งผลบุญ ให้แก่ทุก ๆ คน เป็นพิธีที่เต็มไปด้วยความเลื่อมไสความศรัทธาจากผู้ร่วมงานทุกคน ในวันแรกที่ทำพิธีได้มีผู้สังเกตเห็นพระอาทิตย์ทรงกรดปรากฏบนท้องฟ้า ทำให้ผู้ร่วมพิธีรู้สึกรับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์และเป็นความอัศจรรย์อย่าง หนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างพิธี
“พระพุทธสิริสัตตราช" จำลองที่นำมาประดิษฐานครั้งนี้มีขนาด ๕๙ นิ้ว เป็นองค์พระที่จำลองขึ้นมาจากองค์จริงซึ่งมีลักษณะพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดฐานพระประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๑๕ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม เป็นพระพุทธรูปหล่อแบบโบราณเนื้อสัมฤทธิ์ มีอายุประมาณ ๘๐๐ ปี ซึ่งเป็นพระที่อยู่กับหลวงปู่สอ พันธุโล วัดหนองแสง จังหวัดยโสธร
ลักษณะพระพุทธรูปหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์องค์นี้มีลักษณะที่แปลกกว่าองค์พระอื่น ๆ กล่าวคือโดยทั่วไปพระพุทธรูปจะมีนาคเพียงตัวเดียวแต่มีหัวเจ็ดหัวแผ่ปกคลุม อยู่เหนือองค์พระ แต่องค์พระ“พระพุทธสิริสัตตราช" นี้มีพญางูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว ขดตัวเป็นพระแท่นให้กับองค์พระ ส่วนหัวของงูทั้งเจ็ดยกขึ้นเรียงกันแผ่ปกคลุมอยู่อยู่เหนือเศียรพระ ลักษณะภาพรวมทางด้านศิลปะมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยเชียงแสนหรือทางเวียงจันทน์
สำหรับประวัติรายละเอียดที่เกี่ยวกับพระครูภาวนากิจโกศล(หลวงปู่สอ พันธุโล) ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์พระ “พระพุทธสิริสัตตราช” หรือ “พระพุทธรูปหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” (ในหนังสือเขียนว่าพระพุทธรูปคู่บารมีหลวงปู่สอ พันธุโล) มีตีพิมพ์ในหนังสือชื่อว่า ประวัติพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) พระครูภาวนากิจโกศล (​หลวงปู่สอ พันธุโล) เรียบเรียงโดยพระครูสิทธิวราคม (นิคมวโร) เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พิมพ์ที่ หจก.ขอนแก่นการพิมพ์ ซึ่งจัดพิมพ์โดยชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ที่สนใจศึกษาอ่านรายละเอียดสามารถอ่านได้จากหนังสือเล่มดังกล่าว

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร


ดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้

http://th.wikipedia.org/wiki/

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หน้าเว็บส่วนตัวใหม่


เว็บไซต์ผมเองที่ http://apa.sru.ac.th หรือ http://viriya.sru.ac.th

Server: OpenBSD-4.8
Application server: Zope-2.13.x
Products: ZMS (http://zms-publishing.com)

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บันทึกแรกในบล็อก!

สวัสดีครับ

ขอใช้พื้นที่นี้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ แบบสัพเพหะระ